วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

11. การซ่อมบำรุงจอภาพ (Monitor)


          

          เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel
ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้าย ๆ กับจอโทรทัศน์ สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอภาพ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอแล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสงจะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว

จอภาพหลายสี (Color Monitor)
จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่างทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี



จอภาพแบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
จอภาพผลึกเหลวใช้งานกับคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาเป็นส่วนใหญ่ เป็นแบ่งได้เป็น
Active matrix จอภาพสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่าง และสีสันในอัตราที่สูง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า TFT – Thin Film Transistor และเนื่องจากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ราคาของจอนี้สูงด้วย
Passive matrix color จอภาพสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง เรียกอีกชื่อได้ว่า DSTN – Double Super Twisted Nematic
        การทำงานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อนเกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอนให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชนก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง จากนั้นเมื่อกวาดภาพมาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
        ปัจจุบันกระแสจอแบน ได้เข้ามาแซงจอธรรมดา โดยเฉพาะประเด็นขนาดรูปทรง ที่โดดเด่น ประหยัดพื้นที่ในการวาง รวมทั้งจุดเด่นของจอภาพแบน ก็คือประหยัดพลังงาน โดยจอภาพขนาด 15 - 17 นิ้ว ใช้พลังงานเพียง 20 - 30 วัตต์ และจะลดลงเหลือ 5 วัตต์ในโหมด Standby ในขณะที่จอธรรมดา ใช้พลังงานถึง 80 - 100 วัตต์

วิธีการซ่อมจอภาพ (Monitor)


อาการเสียที่มักพบใน จอภาพ (Monitor)
•เปิดไม่ติด ไฟไม่เข้า
•เปิดติดแล้วไฟกระพริบ
•เปิดติดแต่จอภาพเห็นภาพลาง ๆ
•เปิดติดใช้งานได้ปกติแต่สักพักก็ดับไป
อาการไฟไม่เข้า
1.ให้ตรวจเช็คเบื้องต้นก่อน โดยเช็คสายไฟว่าเสียหรือไม่
2.ตรวจวัด Fuse ว่าขาดไหม
3.ตรวจเช็คชุดจ่ายไฟ 3.3 ,5,12 Volt ว่ายังจ่ายไฟปกติไหม ถ้าชุดใดชุดหนึ่งหายทำให้ไม่สามารถเปิดเครื่องได้
4.ถ้าไฟมาปกติทุกชุดให้ลองเช็ค switch เปิดปิดดูว่าเสียไหม
อาการไฟกระพริบ
1.ให้ตรวจสอบบอร์ดซัพพลายดูว่าอุปกรณ์ทุกอย่างยังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ลองดูดี ๆ เผื่อบางทีอาจมีอะไรไปตายอยู่ในนั้นทำให้เกิดการซ็อตวงจรขึ้นได้
อาการเปิดติดแล้วดับ เห็นภาพลาง ๆ ภาพมืด
1.อาการนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก ชุด Hi-Volt เสีย ทำให้หลอดไฟทำงานไม่ปกติ บางทีก็ติดแล้วดับ บางทีเห็นภาพแค่ลาง ๆ
2.บางครั้งเปลี่ยนชุด Hi-volt แล้วไม่หาย ก็อาจเป็นที่ตัวหลอดไฟที่อยู่ในจอเสียเอง ซึ่งการเปลี่ยนหลอดไฟนั้นยากมากต้องใช้ความชำนาญสุด ๆ ถ้าแกะไม่ดีตัว Panel ออกแตก หรือเป็นเส้นได้

วิธีการดูแลรักษาจอภาพ (Monitor)


จอภาพโดยทั่วไปมักจะมีอายุการใช้งานส่วนใหญ่ประมาณ 1-3 ปี เนื่องจากหลอดภาพของแต่ละรุ่นและยี่ห้อนั้นมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัทผู้ผลิต ตอนนี้จอ CRT หรือจอใหญ่ ๆ อ้วน ๆ ได้หายไปจากบ้านเราเกือบ ๆ 90% แล้วส่วนใหญ่จะเห็นเป็นจอ LED LCD เป็นหลัก แต่ไม่ว่าจะเป็นจอชนิดไหนก็ตาม ไม่ควรตั้งจอไว้ใกล้บริเวณที่มีสนามแม่เหล็กมากจนเกินไป ไม่ควรเอานิ้วหรือสิ่งของอื่น ๆไปจิ้มหรือสัมผัสกับส่วนจอแสดงผล จะทำให้เกิด Dead Pixel ได้และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะเช็ดหน้าจอด้วยน้ำยาหรือสารชนิดอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้สำหรับทำความสะอาดจอชนิดนั้น ๆ

1 ความคิดเห็น: