วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

5. เช็คอาการเสียของเพาเวอร์ซัพพลาย

Power Supply มี 2 แบบ

แบบที่ 1. แบบ Linear มีหม้อแปลงใหญ่ขนาดใหญ่ ตัดวงจรโดย Fuse
แบบที่ 2. แบบ Switching มี Transistor ทำหน้าที่ตัดวงจร
2.1 แบบ XT มีขนาดใหญ่ มีหัวเดียว 12 เส้น มี Switch ปิด-เปิดอยู่ด้านหลัง Power Supply
2.2 แบบ AT เล็กกว่า XT มีหัวเสียบ 2 หัว คือ P8 , P9 มีสวิทช์ปิด-เปิดโยงจาก Power Supply มายังหน้า Case (ราคาประมาณ 450 บาท)
2.3 แบบ ATX มีหัวเสียบเดียว 20 เส้น ไม่มี Switch ปิด-เปิด เมื่อสั่ง Shut Down จาก Program เครื่องจะปิดเองโดยอัติโนมัติ (ราคาประมาณ 600-800 บาท)

* ถ้าต้องการตรวจสอบการใช้งานในขณะที่ไม่ได้ต่อกับ Mainboard ให้ Jump สายสีเทา (หรือสีเขียว) กับสีดำ พัดลมของ Power Supply จะหมุน แสดงว่าใช้งานได้

การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply

 

ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = - 5 V
ดำ + น้ำเงิน = - 12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V

* เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -

*AC=220 V (L กับ N)
L1 380 Vac
L2 380 Vac
L3 380 Vac
N Nutron , G ไม่มีไฟ
*230W (23A) - 300W (30A)
โดย W=V*I

 

ส่วนของ Power Supply ที่สามารถตรวจซ่อมได้

 

1. Fuse
2. Bridge

3. Switching

4. IC Regulator

5. C
ตัวใหญ่
6. IC

Chart ประกอบการตรวจเช็ค Power Supply

 

powersupply-04.gif

วงจรเพาเวอร์ซัพพลาย (Block Diagram)


powersupply-05.gif

วิธีการซ่อมเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


          อาจจะเกิดจากการใช้งานมานาน ๆ จนทำให้อุปกรณ์ภายใน Power Supply เริ่มเสื่อมสภาพอาจมีการจ่ายไฟไม่ครบหรือปริมาณไม่เต็มที่ทำให้เครื่องแสดงสถานะว่ามีไฟเข้าแต่ไม่สามารถทำงานได้  วิธีแก้คือให้ลองหาเพาเวอร์ซัพพลายมาลองเปลี่ยนดู สาเหตุก็คล้าย ๆ กับข้อแรกเมื่อเราใช้งานเพาเวอร์ซัพพลายไปในระยะเวลาหนึ่งมันก็จะเริ่มมีอาการเสื่อมออกมาโดยบางครั้งอาจทำให้เครื่องค้างเนื่องจากมีอุปกรณ์บางตัวแย่งไฟชุดเดียวกันทำให้การจ่ายไฟไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไขคือให้ลองหาเพาเวอร์ซัพพลายใหม่ ๆ มาลองเปลี่ยนแล้วทดสอบใช้ดู


วิธีการดูแลรักษาเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)


          PowerSupply นั้นถือว่าเป็นส่วนที่เริ่มต้นทั้งหมดของชุดจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบัน Power Supply นั้นเป็นวงจรแบบ Switching ข้อดีของวงจรแบบนี้คือ ไฟที่ได้มีลักษณะที่เรียบ และ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแหล่งจ่ายไฟที่ให้กับ Power Supply อีกที่ แต่ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของ Power ในลักษณะนี้นั้นหากมีไฟฟ้า กระชากเข้ามามาก ๆ ตัว Power นั้นจะเสียก่อนซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันไฟที่ดีให้กับตัวเมนบอร์ดไม่ให้เสียหายเนื่องจากมีราคาค่อนข้างแพงกว่า Power Supply มากรวมไปถึงอุปกรณ์ตัวอื่น ๆดังนั้นการดูแลรักษาอุปกรณ์นี้จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้เราสามารถที่จะใช้งานได้ยาวนานขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น