วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

10. การซ่อมการ์ดจอ (Graphic Card)

        คือแผงวงจรที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปแสดงผลยังจอภาพ (Monitor) ในปัจจุบันจะมีรูปแบบของหัวต่อหรือสล็อต 2 แบบ คือ AGP (Accelerator Graphic Port) ซึ่งเป็นแบบเก่าตอนนี้ไม่นิยมกันแล้ว อาจจะเลิกผลิตไปแล้วก็ได้ที่เห็น ๆ อยู่คงจะเป็นมือ 2 ที่ยังหลงเหลืออยู่หรือของที่ค้างสต๊อกและอีกระบบหนึ่งคือ PCI Express x16 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนประกอบของการ์ดจอแสดงผล




อินเตอร์เฟส (Interface) หรือระบบบัสของตัวการ์ด


       เป็นส่วนที่ใช่เชื่อมต่อเข้ากับระบบบัสที่อยู่บนเมนบอร์ด มีลักษณะเป็นแถบทองแดงยื่นออกมาด้านข้างของตัวการ์ด ใช้เสียบลงบนช่องเสียบ (Slot) บนเมนบอร์ดที่เป็นชนิดเดียวกันกับตัวการ์ด ปัจจุบันการ์ดจอมีอินเตอร์เฟสให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบคือ AGP และ PCI Express ซึ้งมีรายระเอียดดังนี้

AGP (Accelerated Graphic Port)
เป็นระบบบัสที่มีความถี่ในการทำงานที่ 66.6 MHz ด้วยความกว้างบัสขนาด 32 บิตมาตรฐานเริ่มต้นคือ AGP 1X ซึ่งให้ Bandowidth ที่ 266 MB/sec (โดยประมาณ) แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ AGP 8X ซึ่งให้ Banidth สูงสุดที่ 2132 MB/sec หรือ 213 GB/sec

PCI Express
เป็นมาตรฐานของระบบบัสแบบใหม่ที่ใช้วิธีการรับส่งข้อมูลกันในแบบอนุกรม (Serial) สองทิศทางทั้งไปและกลับ ซึ่งถูกออกแบบให้เลือกใช้ความเร็วมากน้อยได้ตามต้องการของอุปกรณ์แต่ละชนิด และยังให้แบนด์ดิวธ์ (Bandwidth) เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว โดยมาตรฐานเริ่มต้นคือ PCI Express x1 (นำมาใช้แทน PCI เดิม) ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุด 500 MB/sec แต่สำหรับมาตรฐานล่าสุดที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันคือ PCI Express x16 (ใช้แทน AGP เดิม) นั้น ให้แบนด์วิดธ์ทั้งไปและกลับรวมกันสูงสุดมากถึง 8000 MB/sec หรือ 8 GB/sec เลยทีเดียวนอกจากนี้บนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆหลายรุ่นยังรองรับเทคโนโลยี SLI(Scalable Link Interface multi-GPU Technology) โดยมีการติดตั้งสล็อตแบบ PCI Express x16 นี้มาให้พร้อมกันถึง 2 ตัวเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกให้สูงขึ้นอีกด้วย

วิธีการซ่อมการ์ดจอ (Graphic Card)


          ให้เราลองทำความสะอาดการ์ดจอที่เราถอดออกมานั้นด้วยยางลบดินสอ โดยให้ใช้ยางลบขัดบริเวณที่เป็นแถบทองเหลือง พยายามอย่าจับบริเวณแถบทองเหลือง ยางลบดินสอจะช่วยทำให้คราบสกปรกนั้นหลุดออก สังเกตดูว่ามันแถบทองเหลืองมันจะมีสีสดใส่ขึ้นหรืแวววาวขึ้นก็ถือว่าใช้ได้  ใส่เข้าไปที่เดิมเวลาใส่บางบอร์ดต้องงัดสลักยึดขึ้นบางบอร์ดต้องกดลงอันนี้ต้องดูเอานะ  ควรระวังเวลาใส่ต้องให้แถบทองเหลืองของการ์ดจอเข้าไปโดยเสมอ แล้วลองเปิดเครื่องดูว่าภาพขึ้นจอหรือไม่ ถ้ายังไม่ขึ้นก็ต้องตั้งขอสันนิษฐานว่าการ์ดจอเราอาจเสีย แต่มันยังไม่สามารถฝันธงได้  ถ้าจะให้ชัวร์ต้องลองไปเปลี่ยนกับเครื่องที่ทำงานปกติโดยเอาการ์ดจอเราไปใส่แทนดูว่าติดหรือไม่ถ้าเอาไปใส่เครื่องที่ทำงานปกติแล้วมีอาการเดี่ยวกันคือเปิดติดภาพไม่ขึ้นก็แสดงว่าการ์ดจอของเราเสีย แต่ถ้าไปใส่เครื่องอื่นแล้วมันเปิดติดเครื่องทำงานปกติมีภาพขึ้นจอมอนิเตอร์ที่นี้เราอาจจะต้องมาเช็คส่วนอื่นของเครื่องก็คือ RAM  โดยส่วนใหญ่อาการเปิดติดภาพไม่ขึ้นจะมีปัญหาอยู่ที่ 2ตัวนี้ละ






วิธีการดูแลรักษาการ์ดจอ (Graphic Card)


          การ์ดแสดงผล (Display Card) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการประมวลผลภาพ โดยทั่วไปการใช้งานในช่วง 1 ปีแรก มักจะไม่ค่อยมีปัญหา ส่วนใหญ่จะใช้งานไปได้ถึง 3 ปี โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราเลือกใช้การ์ดแสดงผลราคาถูก ก็อาจจะมีปัญหาบ้างในปีแรก แต่ก็ไม่มากนัก แต่ถ้าเป็นการ์ดแสดงผลยี่ห้อดัง ๆ จากอเมริกาที่มีราคาแพง จะมีความเร็วในการแสดงผลสูง มีลูกเล่นมากกว่า และมีการออกไดร์เวอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น