อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มากสามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น Hard Disk จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ โปรแกรม และข้อมูลต่าง ๆ เนื่องจาก Hard Disk เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี Hard Disk ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ Hard Disk จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมสำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูลและใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วย Voice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูลภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์ จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็กที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลม ๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุ) และสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น 0 และ1 เพื่อจัดเก็บข้อมูลโดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง 3,600 รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200 รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000 รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่าง ๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)
1.แบบ IDE (Integrate Drive Electronics
Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ 1 เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk ได้ 2 ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ 2 ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด 4 ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่ 504 MB
รูปแสดง Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard |
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า 504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น 2 โหมด คือ PIO และ DMA
โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจาก Hard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่า Multitasking environment
โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง 7 ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSI มีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE ดังนั้น Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI |
4. แบบ Serial ATA
เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือ DVD อีกด้วย
รูปแสดง สายสัญญาณแบบ Serial ATA |
วิธีการซ่อม HDD (Hard Disk)
-ถอดแผ่นวงจรหรือเมนบอร์ดของฮาร์ดดิสก์ ออกมา (เรียกว่าแผ่นเมนบอร์ดของฮาร์ดดิสก์ จะมี จุดเชื่อมต่อ สองจุดคือ จุดแรก คือไฟเลี้องมอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ หรือไฟเลี้ยงสปิลเดิลมอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ มีสองสายสามเส้น หมายความว่า มี +12VD -12 และ ตัววัดเซนเซอร์เพิ่มละลดความเร็วของมอเตอร์ และจุดเชื่อมดาต้าลิงค์ หมายถึง ข้อมูลจะถูกถอดรหัสภายในที่รับมาเป็นระบบไฟฟ้าแบบ 0 1 หรือ S/N เพื่อส่งขึ้นไปให้หัว อ่านเขียนบันทึก ในแผ่นดิสก์ (แพตเตอร์ต่อไป)
-วิธีการต่อ คือให้ระบบไฟเลี้ยงมอเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ แต่ไม่ต้องการให้ระบบอ่านเขียนบนจานดิสก์ คือให้ตัวระบบอ่านเขียนที่ไบออสของฮาร์ดดิสก์อย่างเดียว ดังนั้น จึงให้เอากระดาษหรือ อะไรบางอย่างมาขวางไว้เพื่อไม่ให้ จุดเชื่อมต่อระหว่างดาต้าลิ้งค์ของฮาร์ดดิสก์ทำงาน
- วิธีการต่อ ตรงจุดเซตจำเปอร์ของฮาร์ดดิสก์ที่เอาไว้ระบุการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพของเมนบอร์ด คือไว้กำหนดความเร็วของฮาร์ดดิสก์ แบบ SATA I & SATA II ถ้าต้องการให้วิ่ง 150 MBps กำหนดให้ค่าจากโรงงานถ้าต้องการให้วิ่ง 300MBps กำหนดให้ Off หรือถอดจั้มเปอร์ออก (เรากำหนดเอง ) 1 2 3 4 ต่อ (1 = RX (หรือสายสีเขียว)) (2 = TX ( หรือสายสีขาว)) (3 = GND (หรือสายสีดำ)) นับจากซ้ายไปหาขวากรณีคล่ำลง ถ้าหงายขึ้นนับจากขวาไปซ้าย
-เมื่อทำตามขั้นตอนหมดแล้ว เสียบสายไฟเลี้ยงฮาร์ดดิสก์ตามปกติ จะต่อ สีเขียว กับสีเทา ซึ่งเป็นจุดต่อที่ถูกต้องที่สุด หรือหมายเลขที่ 16 กับ 8 (PS ON/PSKW) หรือ PG แล้วแต่ผู้ผลิตจะใช้ จริง ๆ มันก็คล้าย ๆ กับสาย GND นั่นแหล่ะ แต่จุดเชื่อมมันจะไม่ใช้จุดเดียวกันมันมีระบบป้องกันไฟช็อตหรือระบบตรวจสอบความพร้อมก่อนเปิดเท่านั้นเอง
วิธีการดูแลรักษา HDD (Hard Disk)
1.การสแกนไวรัส
- สแกนไวรัส ทุกครั้งก่อนเปิดใช้งาน Flash Drive
- สแกน Drive ทุก ๆ Drive อย่างน้อยอาทิตย์ละ1 ครั้ง
- ในการเสียบ Flash Drive ทุกครั้ง ห้าม Double Click โดยเด็ดขาด เมื่อสแกนไวรัสแล้ว ให้คลิกขวาเลือกOpen หรือ Explore
2. การลบไฟล์ขยะ (Temp files)
Temp files เรียกได้ว่าเป็นไฟล์ ขยะที่เกิดจากการเปิดใช้งานมาก ไม่มีประโยชน์ใด ๆ ทุกครั้งที่เปิดวินสโดวส์จะมีการสร้าง Temp files นามสกุล .tmp ขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งวินโดวส์ก็ไม่ได้ใช้งานไฟล์ประเภทนี้อีกโดยปกติเมื่อเราใช้ windows ไปนาน ๆ ไฟล์ขยะต่าง ๆ หรือไฟล์ที่ระบบปฏิบัติการโหลดไว้เพื่อใช้งานชั่วคราว ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นควรจะมีการเคลียร์ Temp files เพื่อลดปริมาณขยะออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เราเรียกวิธีการลบไฟล์ขยะนี้ว่า “Disk Cleanup” บางทีการทำ Disk Cleanup อาจทำให้เราได้พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสคืนกลับมา โดยที่ไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานเลยก็ได้ ขั้นตอน
การทำ Disk Cleanup มีดังนี้
1. คลิกที่เมนู Start แล้วไปที่เมนู Program / Accessories / System Tools / คลิกที่เมนู Disk Cleanup
2. คลิกเลือกไดรฟ์ C: จากนั้นคลิกปุ่ม OK
3. ถึงตรงนี้ให้รอสักครู่
4. ทีนี้ก็มาถึงขั้นตอนการลบให้คลิกปุ่ม OK
5. คลิกปุ่ม Yes เพื่อยืนยัน
6. แสดงสถานะการลบไฟล์ขยะให้รอสักครู่จนกว่าหน้าต่างนี้จะหายไป
หลังจากเสร็จสิ้นทั้ง 6 ขั้นตอนนี้แล้ว ให้ลองกลับไปตรวจสอบขนาดพื้นที่ของฮาร์ดดิสดูอีกครั้งอาจได้ที่ว่างกลับมาอีกพอสมควรพื้นที่ว่างที่ได้กลับมาอาจทำให้บางคนไม่ต้องไปลบโปรแกรมหรือไฟล์งานในเครื่อง โดยเฉพาะกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางท่านที่ไม่เคยทำ Disk Cleanup มาก่อน ก็จะได้พื้นที่ว่างกลับมาเยอะจนเราคาดไม่ถึงทีเดียว
3. การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties
2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now…
3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start
4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk
5. เมื่อเครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OK หมายเหตุ
หมายเหตุ ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติเมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
4. การ Defrag ฮาร์ดดิสก์ เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับการทำงานของระบบ สำหรับ Windows XP
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Defragment เลือก Properties
2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Defragment Now...
3. คลิกที่ Defragment
4. จากนั้นให้รอ เครื่องจะทำการ Defragment ซึ่งอาจจะใช้เวลานาน
5. เมื่อเครื่อง Defragment เสร็จเครื่องจะแจ้งให้ทราบถ้าต้องการดูรายละเอียดต่าง ๆ ของการ Defragment ให้คลิกที่ View Report ถ้าไม่ต้องการก็ให้คลิกที่ Close
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น