ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟเป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านข้อมูลในแผ่นดิสก์เก็ต
มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ขนาด 3.5” นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน และ 5.25” ไม่ค่อยนิยมใช้
เพราะว่าเคสในปัจจุบันที่ผลิตขึ้นไม่ค่อยมีไดร์ฟที่รองรับแบบ 5.25”
ประเภทของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
3.5” สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด
3.5”
5.25” สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ขนาด 5.25” External FDD สำหรับอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ประเภทติดตั้งภายนอก
เพื่อความสะดวกในการพกพา ส่วนมากจะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทโน๊ตบุ๊ค
ส่วนประกอบของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
ส่วนประกอบต่างๆ
ของฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟขนาด 3.5” มีส่วนประกอบต่างๆ
ดังนี้
1.ช่องใส่แผ่นดิสก์และปุ่มกดเพื่อดันแผ่นดิสก์ออก
2.ตำแหน่งสำหรับต่อสายแพรส่งข้อมูล ให้ตรวจดูว่าขาที่ 1 อยู่ด้านใด
3.ตำแหน่งสำหรับต่อสายไฟ ฟล็อปปี้ดิสก์ไดร์ฟ
ในส่วนของอุปกรณ์ตัวนี้อาการเสียจะไม่ค่อยเจอจะเสียยากมาก ถ้าไม่เจออาการลัดวงจรของไฟฟ้า ก็แทบจะใช้งานได้ตลอด จะมีอาการเสียก็มักจะเสียหลังจาก 1 ปีที่ใช้งาน ถ้ามีอาการเสียหลังจาก 1 ปี ที่ใช้งาน ก็แนะนำให้ซื้อใหม่จะดีกว่านำไปซ่อม แต่ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้ยังอยู่ในการรับประกันก็ขอแนะนำให้ส่งเคลมกับศูนย์บริการนั้น ๆ
แผ่นดิสก์มีความละเอียดมาก จึงควรมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ เพราะ ถ้าแผ่นดิสก์ชำรุดหรือมีความสกปรกจะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ที่บันทึกไว้หรือกำลังจะบันทึกใหม่และที่สำคัญคือจะสร้างความเสียหายให้แก่หัวอ่านดิสก์ด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงควรระมัดระวังดูแลเอาใจใส่ โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ระมัดระวังอย่าให้มือไปถูกบริเวณที่เป็นแม่เหล็กของแผ่นดิสก์ เพราะไขมันบริเวณผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่บันทึกข้อมูล
• อย่าใช้แรงกดปากกาเกินไป ขณะเขียนที่แผ่นป้ายชื่อของแผ่นดิสก์
• อย่าให้แผ่นดิสก์อยู่ใกล้ บริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กมาก ๆ เช่นเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบน MONITO หรือเครื่องโทรศัพท์แบบหมุน
• อย่าบิดหรืองอแผ่นดิสก์เล่นเป็นอันขาด
• อย่าให้แผ่นดิสก์มีรอยขูดขีด หรือถูกของเหลวเช่นน้ำ ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นดิสก์เสร็จแล้วพยายาม เก็บไว้ในซองบรรจุให้เรียบร้อย
• ควรเก็บแผ่นดิสก์ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าทิ้งไว้หน้ารถให้ตากแดดนาน ๆ
วิธีการซ่อมดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)
ในส่วนของอุปกรณ์ตัวนี้อาการเสียจะไม่ค่อยเจอจะเสียยากมาก ถ้าไม่เจออาการลัดวงจรของไฟฟ้า ก็แทบจะใช้งานได้ตลอด จะมีอาการเสียก็มักจะเสียหลังจาก 1 ปีที่ใช้งาน ถ้ามีอาการเสียหลังจาก 1 ปี ที่ใช้งาน ก็แนะนำให้ซื้อใหม่จะดีกว่านำไปซ่อม แต่ถ้าอุปกรณ์ตัวนี้ยังอยู่ในการรับประกันก็ขอแนะนำให้ส่งเคลมกับศูนย์บริการนั้น ๆ
วิธีการดูแลรักษาดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)
แผ่นดิสก์มีความละเอียดมาก จึงควรมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ เพราะ ถ้าแผ่นดิสก์ชำรุดหรือมีความสกปรกจะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ที่บันทึกไว้หรือกำลังจะบันทึกใหม่และที่สำคัญคือจะสร้างความเสียหายให้แก่หัวอ่านดิสก์ด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงควรระมัดระวังดูแลเอาใจใส่ โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
• ระมัดระวังอย่าให้มือไปถูกบริเวณที่เป็นแม่เหล็กของแผ่นดิสก์ เพราะไขมันบริเวณผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่บันทึกข้อมูล
• อย่าใช้แรงกดปากกาเกินไป ขณะเขียนที่แผ่นป้ายชื่อของแผ่นดิสก์
• อย่าให้แผ่นดิสก์อยู่ใกล้ บริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กมาก ๆ เช่นเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบน MONITO หรือเครื่องโทรศัพท์แบบหมุน
• อย่าบิดหรืองอแผ่นดิสก์เล่นเป็นอันขาด
• อย่าให้แผ่นดิสก์มีรอยขูดขีด หรือถูกของเหลวเช่นน้ำ ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นดิสก์เสร็จแล้วพยายาม เก็บไว้ในซองบรรจุให้เรียบร้อย
• ควรเก็บแผ่นดิสก์ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าทิ้งไว้หน้ารถให้ตากแดดนาน ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น