วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

6. การดูแลรักษาแรม ( RAM )

          เช็ค RAM กรณีเครื่องไม่มีการ์ดจอแยก( ข้อควรระวังเวลาจะใส่หรือถอดอุปกรณ์ใดๆลงในเครื่องให้ปิดเครื่องและชักปลักออกจากตัวเครื่องก่อนเสมอ ) เราพูดถึงอาการเปิดติดไม่ขึ้นภาพ ( เครื่องทำงานปกติแต่ภาพไม่ขึ้นจอ เพื่อใครงง ) แล้ววิธีการเช็คการ์ดจอแยกกันไปแล้ว ที่นี้ถ้าเครื่องของเราไม่มีการ์ดจอแยกหรือเช็คการ์ดจอแยกแล้วว่ามันไม่เสีย เราก็จะมาดูที่ RAM กันแล้วในตอนท้ายผมจะแนะนำเกี่ยวกับ RAM ที่นิยมใช้ในปัจจุบันก่อนและจะบอกวิธีเลือกซื้อด้วย การเช็คRAMก็เหมือนเช็คการ์ดจอนะครับ โดยปกติเครื่อง PC ทั่วไปจะมีสล็อต ( ที่สำหรับเอาไว้เสียบ RAM ) อย่างน้อย 2 ช่อง ให้เรากดสลักยึด RAM รูปที่ 1





ทีละด้านออกก่อนแล้วค่อยดึง RAM ในเครื่องเราออกมา (แล้วแต่เครื่องนะครับ ว่าจะมี RAM กี่อัน1 - 2 แต่ให้ถอดออกมาให้หมด ) แล้วใช้ยางลบขัดบริเวณที่เป็นแถบทองเหลือง รูปที่ 2







พยายามอย่าจับบริเวณแถบทองเหลือง (มือเรามีคราบสกปรกเดี่ยวมันจะไม่ติดเอา ) ยางลบดินสอจะช่วยทำให้คราบสกปรกนั้นหลุดออก สังเกตดูว่ามันแถบทองเหลืองมันจะมีสีสดใส่ขึ้นหรือแวววาวขึ้นก็ถือว่าใช้ได้ ลองใส่เข้าไปที่เดิม ใส่ RAM ที่ละตัวนะครับจะได้เช็คด้วยว่า RAM ตัวไหนมีปัญหา เวลาใส่ RAM จะมีแถบสั้นและแถบยาวอยู่ รูปที่ 3






ให้ใส่ให้ตรงแถบบนบอร์ด รูปที่ 4






เสร็จแล้วกด RAM ลงตรงๆ รูปที่ 5










สลักยึด 2 ข้างก็จะล็อคตัว RAM พอดี เสร็จแล้วสลักยึดทั้งสองข้างด้วยว่าแน่นสนิทหรือไม่ รูปที่ 6









( ถ้า RAM เข้าไม่แน่นหรือใส่ผิดมันสลักยึดจะไม่ลงล็อค ) เสร็จแล้วลองเปิดเครื่องดูอย่าลืมเสียบคีบอร์ดด้วยนะ แล้วลองดูว่าเครื่องทำงานปกติใหม่ ถ้าเครื่องทำงานปกติก็สบายไป แต่ถ้าอาการเดิมคือเปิดติดภาพไม่ขึ้นจอให้ ( ปิดเครื่องชุกปลักก่อนทุกครั้งทีมีการถอดหรือใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมลงในเครื่อง ) ถอด RAM ออกมาทำความสะอาดอีกรอบ แล้วลองเปลี่ยนสล๊อตที่เสียบ RAM ดู เช่นตอนแรกใส่สล๊อตฟังขวาก็มาลองเปลี่ยนเป็นสล๊อดฟังซ้ายดู( บางบอร์ดจะมีสล๊อตมากกว่า2และใส่RAMได้หลายแบบ เราต้องสังเกตุให้ดี แต่โดยปกติถ้า RAM คนละชนิดกันมันจะใส่ไม่เข้า ) ถ้ายังไม่ติดอีก เราอาจต้องหา RAM ชนิดเดี่ยวกันบัสเดี่ยวกันจากเครื่องที่ทำงานปกติมาลองใส่ดู ถ้าใส่แล้วเครื่องทำงานปกติคือเปิดติดมีภาพขึ้นที่จอมอนิเตอร์ อาจเป็นที่ RAM เราเสีย แต่ถ้าเอา RAM จากเครื่องที่ทำงานปกติมาใส่แล้วเครื่องยังมีอาการเดิมคือเปิดติดภาพไม่ขึ้น อาจเป็นที่ไฟลงกราวด์เราจะไปดูที่บทต่อไปกัน


การเลือกซื้อและชนิดของ RAM




- SD RAM เป็น RAM ที่พบได้น้อยแล้วในปัจจุบัน ถ้าเสียราคาจะแพงมากและหาซื้อได้ยาก ถ้าต้องการจริงๆอาจต้องไปเดินหาซื้อเอาเอง พวกนี้มักหาซื้อตามร้านหรือสั่งทาง NETไม่ได้
- DDR RAM หรือจะเรียกว่า DR1 ( แรมดีอาวัน ) พวกนี้จะพบได้เยอะกว่า SD RAM แต่ปัจจุบัน กำลังจะหมดไปทุกที เพราะราคาที่สูง และให้ความเร็วในการประมวลผมไม่เกิน 1 G ( ราคาที่ร้านอยู่ที่ 950บาท )







- DDR2 RAM หรือจะเรียกว่า DR2 ( แรมดีอา2 ) เป็น RAMที่พบเยอะที่สุด ด้วยราคาที่ปานกลางและให้ความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2 G ( ราคาที่ร้านอยู่ที่ 1,300บาท )






- DDR3 RAM หรือเรียกว่า DR3 ( แรมดีอา3 ) เป็น RAM ที่พบได้เยอะรองจาก RAM DR2 แต่กำลังเป็นที่นิยมเพราะมีราคาที่ถูก ความเร็วประมวลผลอยู่ที่ 4 G( ราคาที่ร้านอยู่ที่ 850 บาท )








เห็นความแตกต่างของ RAM กันไปบางแล้วจะเห็นว่าถ้าเปรียบเทียบโดยรวม RAM ยิ่งเก่าจะยิ่งแพงยิ่งใหม่จะยิ่งถูก ( อันนี้เราต้องดูเอาเองนะ ว่าเสียแล้วมันคุ้มกับการเปลี่ยนหรือเปล่าหรือจะเปลี่ยนแมนบอร์ดไปเลย ) ต่อไปผมจะมาแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อหรือเปลี่ยน RAM กันปกติ RAM จะเปลี่ยนสลับกันไม่ได้คือ RAM DDR1 ถ้าเสียก็จะต้องเปลี่ยนกัน RAM DDR1จะไปเปลี่ยนกับ RAM DDR2 หรือ RAM DDR3 ไม่ได้ แล้วเราจะรู้ได้งัยว่าไอ RAM ของเครื่องเรานี้มันเป็น RAM อะไร เราดูได้จากแถบกระดาษที่อยู่บนตัว RAM ซึ่งทุกยี่ห้อจะมีติดไว้หมดโดยจะบอกว่าเป็นRAMอะไรความถี่ความเร็วประมวลผล เช่น บนตัว RAM เขียนว่าKVR800D2N6/2G แปลว่า RAM ตัวนี้เป็น RAM DDR2 ความถี่ 800 ความเร็วประมวลผล 2 G








ถ้ามันเสียเราก็ควรไปหา RAM DDR2 ความถี่ 800 ครามเร็วอันนี้แล้วแต่เราจะเอามากเอาน้อย แต่ยิ่งความเร็วมากราคาก็จะแพงขึ้นไปด้วย ( โดยปกติความถี่ของ RAM จะอยู่ที่ 400 533 667 800 1333 ซึ่งการเลือกนั้นถ้า RAM เราเสียโดย RAM เราความถี่ 533ถ้าหาซื้อความถี่533ไม่ได้จริงๆ อาจจะใช้ RAM ความถี่ 400 หรือ 677 ได้ คือ ความถี่ต่างกันไม่มาก แต่ถ้าRAM เราความถี่ 533 จะไปเอา RAMความถี่ 800มาใส่เครื่องอาจจะไม่ทำงานได้ )


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น