วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

13. หลักการทำงานของเคสCase


          ภายในแคสจะมีช่องที่เรียกว่า เบย์ (bays) ซึ่งเป็นช่องที่ไว้สำหรับใส่ไดร์ฟต่างๆ เช่น CD-ROm, Floppy disk drive, tape drive คอมพิวเตอร์ทั่วไปจะมีเบย์ประมาณ 3-4 ช่องและช่องสำหรับ Floppy disk drive ประมาณ 1-2 ช่อง นอกจากนี้ภายในยังมีเบย์เรียกว่า เบย์ภายใน สำหรับใส่ฮาร์ดดิสก์ีอีกด้วย

          คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีแหล่งจ่ายไฟ เพราะกระแสไฟตามบ้านจะจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 150 ถึง 120 โวลต์ ซึ่งไม่เหมาะกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ประมาณ 5-12 โวลต์ คอมพิวเตอร์จึงต้องมีอุปกรณืที่เป็นตัวแปลงและจ่ายไฟเรียกว่า แหล่งจ่ายไฟ (power supply) ซึ่งจะมีพัดลมตัวเล็กๆ อยู่ใกล้เพื่อระบายความร้อน ที่มาจากหน่วยประมวลผล และอุปกรณ์อื่นๆ




ชนิดของเคส


1.ชนิด XT ( Extended Technology ) มีตั้งแต่สมัยรุ่น cpu 8088 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
2.ชนิด AT ( Advanced Technology ) ยังพอมีให้เห็นบ้างในเครื่องรุ่นเก่า
3.ชนิด ATX ( Advanced Technology Extended ) นิยมใช้อย่างแพร่หลายในตอนนี้
เคสชนิดใด ต้องใช้กับ Power Supply และ Main board ชนิดเดียวกัน

Power Supply มีหน้าที่ แปลงไฟจากไฟบ้านซึ่งเป็นไฟ กระแสสลับ 220 โวลท์ ( ACV ) ไปเป็นไฟกระแสตรง ( DCV ) บวกลบ 5,12 โวลท์ เพื่อใช้ในการทำงานของวงจรอิเล็คทรอนิกส์

แคสแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทตามชนิดของเคสคือ แบบ AT และ แบบ ATX เนื่องจากโดยปกติเมื่อซื้อเคสเปล่า แหล่งจ่ายไฟ หรือ power supply จะติดมากับเคสด้วย ขนาดของแหล่งจ่ายไฟ
ในปัจจุบันจะมีขนาด 230 และ 250 วัตต์ และ 300 วัตต์ ถ้ามีอุปกรณ์ต่อพ่วง ในคอมพิวเตอร์เยอะก็ควรเลือกวัตต์สูงไว้ก่อน เมื่อแหล่งจ่ายไฟติดอยู่กับเคส ก็อาจจะเรียกรวมๆ ไป เช่น เคส 300 วัตต์ ATX เป็นต้น
ข้อแตกต่างระหว่าง Case แบบ AT และ ATX และสิ่งที่จะสังเกตุได้จากภายนอกก็คือ

AT


- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นเก่า ขนาดจะเล็กกว่า ATX

- บางเครื่องปุ่มสวิตย์เปิดปิด จะค้างแสดงคุณสมบัติเปิด-ปิด

- หลังจากปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมแล้วต้องกดปุ่มปิดอีกครั้งที่หน้า Case ด้วย

ATX


- มักจะใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ ๆ

- ปุ่มสวิตย์เปิดปิดจะไม่ค้าง ( กดกี่ครั้งก็ไม่รู้ว่ากดไปหรือยังคือปุ่มจะเด้งกลับ )

- ปิดเครื่องจากคำสั่งในโปรแกรมเท่านั้น

ไม่ต้องกดปุ่มปิดที่หน้า Case อีก (จะกดปุ่มสวิตย์เฉพาะตอนเปิดเครื่องเท่านั้น )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น